171057

วันที่ 4 กรกฎาคม 2568 นายวิวัฒน์ อินทร์ไทยวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน  มอบหมายให้นายชาตรี ธินนท์ รองผุ้ว่าาชการเป็นประธานเปิดโครงการ หน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินราทบรมราชชนนี(พอ.สว.)ครั้งที่ 11

 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568  โดยมีนายแพทย์สุริยพงณช์ สุริยะพงฑากุล รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลำพูน นายจรัล มณีจันสุข นายอำเภอบ้านโฮ่ง หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด ส่วนราชการอำเภอบ้านโฮ่ง คณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดลำพูน กิ่งกาชาดอำเภอบ้านโฮ่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ผู้นำชุมชน อาสาสมัคร พอ.สว.และประชาชนอำเภอบ้านโฮ่ง เข้าร่วม

น.สพ.สมบัติ ศุภประภากร ปศุสัตว์จังหวัดลำพูน มอบหมายให้ น.สพ.อภิเษก คงศิลา นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์  นายสุธรรม สุยะ ปศุสัตว์อำเภอเวียงหนองล่องรักษาราชการแทนปศุสัตว์อำเภอบ้านโฮ่ง และนายธนภัทร คหินทพงษ์ เจ้าพนักงานสัตวบาลอาวุโส รักษาราชการแทนปศุสัตว์อำเภอทุ่งหัวช้าง    ข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้างในสังกัด ร่วมออก บริการประชาชนและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน พร้อมทั้งรับทราบปัญหาความเดือดร้อน ความต้องการด้านต่างๆ ของประชาชน เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับประชาชน โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลำพูน ได้จัดเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลำพูน สำนักงานปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่ นายสัตวแพทย์ประจำพื้นที่ ร่วมดำเนินการออกหน่วยบริการด้านสัตวแพทย์ โดยบริการให้ความรู้ด้านปศุสัตว์  ให้บริการผ่าตัดทำหมันสุนัข และแมว ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ถ่ายพยาธิและรักษาสัตว์ให้กับสุนัขและแมว ภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

'>>>ผลการปฏิบัติงานของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลำพูน ดังนี้'

- การให้บริการควบคุมประชากรโดยการผ่าตัดทำหมัน จำนวนทั้งสิ้น 35 ตัว

> สุนัข 16 ตัว

         =>เพศเมีย 13 ตัว

         => เพศผู้ 3 ตัว

> แมว 19 ตัว

        =>เพศผู้ 3 ตัว

        =>เพศเมีย 16 ตัว

การให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้สุนัขและแมวด้อยโอกาส จำนวน 35 ตัว

       

        การให้บริการตามโครงการฯ ดังกล่าวไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ผลการออกหน่วยปศุสัตว์เคลื่อนที่ครั้งนี้ประชาชนในพื้นที่มีความพึงพอใจมากต่อนโยบายกรมปศุสัตว์ที่จัดหน่วยปศุสัตว์เคลื่อนที่ออกบริการในพื้นที่ที่ขาดแคลนสถานพยาบาลสัตว์หรือพื้นที่ที่การเดินทางมีความยากลำบากในการนำสัตว์เลี้ยงมารับบริการ และมีความต้องการรับบริการด้านการสุขภิบาลสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์เลี้ยงได้รับการบริการได้อย่างทั่วถึง และมีสวัสดิภาพสัตว์ที่ดีขึ้น