กิจกรรมการบูรณาการการบังคับใช้กฎหมายการค้าเนื้อเถื่อนออนไลน์
https://pvlo-lpn.dld.go.th/webnew/index.php/en/news-menu/livestock-news-menu?start=345#sigFreeIdea48de48b9
วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 สำนักงานปศุสัตว์อำเภอป่าซาง โดยนายอภิวัชร จินะราช นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ และนายกฤษดา สิทธิวงษา พนักงานจ้างเหมาช่วยงานด้านสัตวแพทย์ เข้าตรวจเยี่ยมเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ชนเหล่าป่าก๋อย เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการอนุรักษ์ไก่พันธ์เหล่าป่าก๋อย ในพื้นที่หมู่ 1 และหมู่ 12 ตำบลน้ำดิบผลการปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ได้รับความสนใจจากเกษตรกรและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 น.สพ.สมบัติ ศุภประภากร ปศุสัตว์จังหวัดลำพูน มอบหมายให้ น.สพ.อภิเษก คงศิลา นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ เป็นประธานพิธีเปิด “โครงการฝึกอบรมเพื่อสร้างและพัฒนาศักยภาพอาสาปศุสัตว์ด้านโรคพิษสุนัขบ้า ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การดำเนินโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี” ณ ห้องประชุมดอกป๊าน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน ตำบลเหมืองง่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โดยบูรณาการร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดลำพูน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดลำพูน และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานปศุสัตว์อำเภอแม่ทา อำเภอป่าซาง และอำเภอบ้านธิ โดยโครงการฝึกอบรมเพื่อสร้างและพัฒนาศักยภาพอาสาปศุสัตว์ด้านโรคพิษสุนัขบ้า ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การดำเนินโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอาสาปศุสัตว์รุ่นใหม่และพัฒนาอาสาปศุสัตว์เดิมที่มีอยู่แล้วให้มีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะในการจับบังคับสัตว์ การฉีดวัคซีน การรักษาวัคซีน การสังเกตอาการความผิดปกติของสัตว์ การเก็บตัวอย่าง เป็นต้น
เพื่อให้อาสาปศุสัตว์มีความพร้อมในการปฏิบัติงานด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าครอบคลุมในทุกพื้นที่ อาสาปศุสัตว์ที่ผ่านการอบรมและมอบหมายให้ปฏิบัติงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 มีผู้เข้ารับการฝึกอบรม ประกอบด้วย อาสาปศุสัตว์ด้านโรคพิษสุนัขบ้าจากทั้ง 8 อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 57 แห่ง เป้าหมายผู้เข้ารับการฝึกอบรมรวมจำนวน 78 คน ซึ่งจะได้เป็นเครือข่ายในการดำเนินการควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในระดับพื้นที่ เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้าของจังหวัดลำพูนต่อไป
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 น.สพ.สมบัติ ศุภประภากร ปศุสัตว์จังหวัดลำพูน มอบหมายให้ น.สพ.อภิเษก คงศิลา นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ พร้อมด้วยนายประพิศ เสนาจิตร ปศุสัตว์อำเภอแม่ทา นำเจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์และเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอแม่ทา บูรณาการร่วมกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานสำนักง่นเทศบาบตำบลทาสบเส้า ในการมุ่งสร้างพื้นที่อำเภอแม่ทา เป็นพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า โดยดำเนินการออกหน่วยปศุสัตว์เคลื่อนที่ให้บริการผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมวด้อยโอกาส ในพื้นที่ ตำบลทาสบเส้า อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ตามโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการในการผ่าตัดทำหมัน และฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขและแมวได้อย่างทั่วถึงโดยไม่มีค่าใช้จ่าย รวมถึงการควบคุมจำนวนประชากรสุนัขและแมว ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในคนและสัตว์ สอดรับกับเป้าหมายขององค์การอนามัยโลกในการกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไป และตามพระปณิธาน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงมีพระปณิธานแน่วแน่ที่จะให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไปจากประเทศไทย ภายในปี 2568
โดยกรมปศุสัตว์ ได้สนองพระปณิธานฯ กำหนดให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทุกจังหวัด จัดหน่วยปศุสัตว์เคลื่อนที่ให้บริการผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมว และให้ความรู้ด้านโรคพิษสุนัขบ้า แก่ประชาชนในพื้นที่โดยมีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สาธารณสุข วัด สถานศึกษา เป็นต้น
>>>ผลการปฏิบัติงานของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลำพูน ดังนี้
- การให้บริการควบคุมประชากรโดยการผ่าตัดทำหมัน จำนวนทั้งสิ้น 29 ตัว
> สุนัข 6 ตัว
=>เพศผู้ 3 ตัว เพศเมีย 3 ตัว
> แมว 23 ตัว
=>เพศผู้ 9 ตัว เพศเมีย 14 ตัว
- การให้บริการด้านการรักษาพยาบาลสัตว์ และด้านอื่นๆ
- การให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้สุนัขและแมวด้อยโอกาส จำนวน 33 ตัว
การให้บริการตามโครงการฯ ดังกล่าวไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ผลการออกหน่วยปศุสัตว์เคลื่อนที่ครั้งนี้ ประชาชนในพื้นที่มีความพึงพอใจมากต่อนโยบายกรมปศุสัตว์ที่จัดหน่วยปศุสัตว์เคลื่อนที่ออกบริการในพื้นที่ที่ขาดแคลนสถานพยาบาลสัตว์หรือพื้นที่ที่การเดินทางมีความยากลำบากในการนำสัตว์เลี้ยงมารับบริการ และมีความต้องการรับบริการด้านการสุขภิบาลสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์เลี้ยงได้รับการบริการได้อย่างทั่วถึง และมีสวัสดิภาพสัตว์ที่ดีขึ้น