โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาไม่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมการปศุสัตว์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ ได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนา ไม่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการปศุสัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดพื้นที่ปลูกข้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสม ปรับเปลี่ยนเป็นกิจกรรมส่งเสริมอาชีพด้านปศุสัตว์(กระบือ โคเนื้อ แพะ) และปลูกพืชอาหารสัตว์(นาหญ้า) ให้มีความยั่งยืน รวมทั้งพัฒนาการผลิตสัตว์ทั้งระบบแบบครบวงจร
1. โครงการที่ส่งเสริมการปศุสัตว์ (4 เมนูทางเลือกด้านปศุสัตว์)
1.1 ส่งเสริมการเลี้ยงกระบือ 5,000 ครัวเรือน (500 กลุ่ม) ปรับเปลี่ยนพื้นที่ 25,000 ไร่
1.2 ส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อ 24,000 ครัวเรือน (2,400 กลุ่ม) ปรับเปลี่ยนพื้นที่ 120,000 ไร่
1.3 ส่งเสริมการเลี้ยงแพะ 500 ครัวเรือน (50 กลุ่ม) ปรับเปลี่ยนพื้นที่ 2,500 ไร่
1.4 ส่งเสริมการเลี้ยงทำนาหญ้า 500 ครัวเรือน (50 กลุ่ม) ปรับเปลี่ยนพื้นที่ 2,500 ไร่
2. เป็นมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ปีการผลิต 2559/60 ด้านการผลิต (เพิ่มเติม)
- เฉพาะผู้ปลูกข้าว โดยการกู้เงินดอกเบี้ยต่ำ เพื่อการเลี้ยงปศุสัตว์ (อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี โดยเกษตรกรชำระดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี และรัฐบาลชดเชยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี ปลอดชำระเงินต้น 2 ปี มีระยะเวลาของโครงการดังนี้ โคเนื้อ,กระบือ 6 ปี แพะ 5 ปี นาหญ้า 3 ปี)
3. หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณสมบัติของเกษตรกร ที่จะสมัครเข้าร่วมโครงการ
1) คุณสมบัติของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ
(1) เป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสม S3,N (พื้นที่มีเอกสารสิทธิ์) มีพื้นที่ทำนาจำนวน 7-25 ไร่ และเป็นพื้นที่มีเอกสารสิทธิ์ (สิทธิในการครอบครอง/ทำกิน) ยกเว้นนาเช่า
(2) เกษตรกรจะต้องปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาไม่เหมาะสม จำนวน 5 ไร่ ในฤดูเพาะปลูก 2559/60 มาปลูกพืชอาหารสัตว์เลี้ยงสัตว์หรือปลูกพืชอาหารสัตว์เป็นการค้า(นาหญ้า) โดยพื้นที่ดังกล่าวจะต้องมีความเหมาะสมในการปลูกพืชอาหารสัตว์เลี้ยงกระบือ/โคเนื้อ/แพะหรือจำหน่าย เพียงพอตลอดระยะเวลาของโครงการ
(3) เกษตรกรจะต้องรวมกลุ่มจดทะเบียนเป็นสมาชิกขององค์กรเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย (วิสาหกิจชุมชน/กลุ่มเกษตรกรนิติบุคคล/สหกรณ์)
(4) ต้องไม่เป็นบุคคลที่ผิดนัดชำระหนี้ หรือสัญญาเงินทุนของทางราชการเว้นแต่ส่วนราชการเห็นว่ามิใช่ความผิดของเกษตรกรที่ไม่สามารถชำระหนี้คืนได้
(5) เกษตรกรต้องไม่เป็นหนี้ค้างชาระ (NPL) กับ ธ.ก.ส. (กรณีเป็นลูกค้า ธ.ก.ส.) ยกเว้นหนี้ค้างชาระที่เกิดจากเหตุสุจริตจำเป็นและ ธ.ก.ส. เห็นสมควรให้ผ่อนผันได้
(6) ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการบริหารบริหารองค์กรเกษตรกร (วิสาหกิจชุมชน/กลุ่มเกษตรกรนิติบุคคล/สหกรณ์)
12) เกษตรกรมีความพร้อมในการจัดเตรียมโรงเรือนเลี้ยงสัตว์พร้อมลานปล่อย/โรงเก็บพืชอาหารสัตว์อย่างเหมาะสม และมีภูมิลำเนาที่สามารถดูแลฟาร์มกระบือ/โคเนื้อ/แพะของตนเองได้ตลอดเวลา กรณีทำนาหญ้าองค์กรเกษตรกรควรมีทำเลแปลงหญ้า เพื่อการจำหน่ายอยู่ใกล้กับแหล่งรับซื้อ เช่น กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ผู้เลี้ยงโคขุน ผู้เลี้ยงแพะ เป็นต้น และเตรียมโรงเก็บผลผลิตพืชอาหารสัตว์ให้เหมาะสม สามารถดูแลแปลงพืชอาหารสัตว์ของตนเองได้ตลอดเวลา รวมถึงการถนอมอาหารสัตว์ เช่น หญ้าหมัก หญ้าแห้ง
13) เกษตรกรจะต้องเลี้ยงกระบือ/โคเนื้อ/แพะแบบประณีต (Intensive Farm) คือ การเลี้ยงแบบยืนโรง ในบริเวณพื้นที่ที่เหมาะสม โดยการปลูกและบำรุงรักษาแปลงพืชอาหารสัตว์ พร้อมตัดให้กินอย่างเพียงพอตลอดระยะเวลาของโครงการ และมีการถนอมอาหารสัตว์ เช่น ใบมันสำปะหลังหมัก หัวมันหมัก หญ้าหมัก ฯลฯ เสริมให้กินอย่างเพียงพอ
14) เกษตรกรสามารถใช้สิทธิในการเข้าร่วมโครงการได้เพียง 1 โครงการ จาก 6 โครงการ ซึ่งอยู่ภายใต้มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ปีการผลิต 2559/60 ด้านการผลิต (กระบือ โคเนื้อ แพะ นาหญ้า เกษตรกรรมทางเลือกอื่น และโครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือลดต้นทุนการผลิตไร่ละ 1,000 บาท)
15) เกษตรกรจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขของโครงการฯ
16) หลักเกณฑ์การให้สินเชื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของ ธ.ก.ส.
17) เกษตรกรจะต้องจัดซื้อกระบือ/โคเนื้อ/แพะ แม่พันธุ์ตามคุณลักษณะที่กรมปศุสัตว์กำหนด
4. การรับสมัคร และการให้สินเชื่อ
1) เกษตรกรผู้ปลูกข้าวขอสมัครเข้าร่วมโครงการ ผ่านคณะทำงานปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าว ไม่เหมาะสม ปีการผลิต 2559/60 ระดับอำเภอ
2) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการปรับเปลี่ยนพื้นทำนาไม่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพปศุสัตว์ และ ธ.ก.ส. ร่วมชี้แจงรายละเอียดโครงการแก่เกษตรกร พร้อมทั้งตรวจสอบคุณสมบัติขององค์กรเกษตรกร/เกษตรกร
3) องค์กรเกษตรกรเสนอโครงการสนับสนุนสินเชื่อฯตามแบบการเขียนเสนอโครงการสนับสนุนสินเชื่อให้กลุ่มชาวนาผู้ปรับเปลี่ยนพื้นที่นาไม่เหมาะสม ปีการผลิต 2559/60
4) คณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัด พิจารณากลั่นกรองให้ความเห็นชอบการเข้าร่วมโครงการฯ และสนับสนุนสินเชื่อขององค์กรเกษตรกร
5) ธ.ก.ส. พิจารณาอนุมัติสินเชื่อตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติตามโครงการฯ ในวงเงินสินเชื่อองค์กรเกษตรกรไม่เกิน ดังนี้ กระบือไม่เกิน 3,000,000 บาท, โคเนื้อไม่เกิน 4,000,000 บาท, แพะไม่เกิน 2,500,000 บาท, นาหญ้า ไม่เกิน 1,500,000 บาท
6) ธ.ก.ส. แยกบัญชีออกจากการดำเนินงานปกติ เป็นการดำเนินงานตามนโยบายรัฐ (Public Service Account : PSA) เพื่อขอรับการชดเชยความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตจากรัฐบาล
7) ธ.ก.ส. จะจ่ายสินเชื่อแก่องค์กรเกษตรกร เมื่อเกษตรกรสมาชิกทุกรายปลูกพืชอาหารสัตว์เสร็จสิ้นแล้ว
8) ธ.ก.ส. จะจ่ายสินเชื่อตามความก้าวหน้า เช่น ก่อสร้างโรงเรือน หรือการรับมอบสัตว์แม่พันธุ์ กรณีทำนาหญ้าจะจ่ายเมื่อเกษตรกรสมาชิกทุกรายปลูกพืชอาหารสัตว์เสร็จสิ้นแล้ว
5. เงื่อนไขพิเศษของ ธ.ก.ส.
1) กรณีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีคุณสมบัติตามข้อบังคับของ ธ.ก.ส. ให้ผู้อำนวยการสานักงาน ธ.ก.ส. จังหวัด มีอำนาจพิจารณาผ่อนผันคุณสมบัติผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้า กรณีจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนน้อยกว่า 6 เดือน
2) ธ.ก.ส. ยกเว้นค่าธรรมเนียมในการวิเคราะห์เงินกู้ตามโครงการ
3) สมาชิกองค์กรเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการต้องทาการถือหุ้นเพื่อเป็นทุนในการดำเนินงาน ไม่น้อยกว่ารายละ 1,000 บาท
4) เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในโครงการดังกล่าว ประกอบกับเพื่อไม่ให้ เป็นภาระกับองค์กรเกษตรกรและสมาชิกที่ร่วมดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ควรให้สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ ทำประกันชีวิตแบบคุ้มครองวงสินเชื่อ โดยระบุให้ ธ.ก.ส. เป็นผู้รับผลประโยชน์
สอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลำพูน โทร.053 511288 ต่อ 13 และสำนักงานปศุสัตว์อำเภอทุกอำเภอ