alt

 

alt 

alt 

alt 

alt

alt

 

alt

 

alt 

alt 

alt 

หลักเกณฑ์การนำสัตว์ปีกเข้าเลี้ยงใหม่

 

        ๑.  การทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรค

    ฟาร์มสัตว์ปีกต้องผ่านการทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรครวมถึงพาหะนำโรคตามเกณฑ์ที่กรมปศุสัตว์กำหนด  ดังนี้

              ๑.๑  นำวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ปีกออกนอกโรงเรือนแต่ให้อยู่ภายในบริเวณฟาร์ม แล้วให้ดำเนินการทำความสะอาดแช่หรือพ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อและตากให้แห้ง

            ๑.๒  เก็บกวาดเศษอาหาร มูลสัตว์ สิ่งปูรอง หยากไย่ที่เกาะอยู่ตามซอกมุมหลังคาแล้วนำออกจากโรงเรือนเพื่อทำลายโดยการเผา หรือฝัง โดยเฉพาะมูลสัตว์ปีกต้องกำจัดออกจากโรงเรือนให้หมดสิ้น

             ๑.๓  ทำความสะอาดโรงเรือนด้วยน้ำผสมผงซักฟอกหรือสารทำความสะอาด(Detergent) อื่นๆ และถูหรือขัดคราบไขมัน ฝุ่น มูลสัตว์ ออกโดยเฉพาะบริเวณพื้นคอก กรงตับ รางไข่ แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง

           ๑.๔  พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคโดยใช้เครื่องพ่นแรงดันสูง หรือแบบสะพายหลังให้ทั่วทุกซอกทุกมุมของโรงเรือน และบริเวณรอบโรงเรือน

              ๑.๕  กำจัดพาหะของโรคระบาด เช่น หนู นก แมลง และอื่นๆ
              ๑.๖  เก็บขยะบริเวณฟาร์มให้หมดแล้วนำไปทำลายโดยวิธีฝังหรือเผา

              ๑.๗  บริเวณรอบๆ โรงเรือนต้องสะอาดไม่มีแหล่งที่ให้พาหะโรคอาศั

 

        ๒.  การพักโรงเรือน

              หลังจากทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรคในฟาร์มสัตว์ปีกแล้วต้องปล่อยฟาร์มสัตว์ ปีกให้ว่าง  (พักโรงเรือน)  อย่างน้อย  ๒๑  วัน

 

        ๓.  การตรวจสอบโรคระบาดในรัศมี  ๕  กิโลเมตร

    ในพื้นที่รัศมี ๕ กิโลเมตรจากฟาร์มสัตว์ปีกต้องไม่มีสัตว์ปีกป่วยด้วยโรคระบาดเป็นระยะเวลาอย่างน้อย  ๒๑  วั

 

        ๔.  การผ่านหลักเกณฑ์มาตรฐานฟาร์ม

        ๔.๑  ฟาร์มสัตว์ปีกต้องผ่านการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มจากกรมปศุสัตว์

       ๔.๒ กรณีฟาร์มสัตว์ปีกไม่ผ่านการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มตามข้อ ๔.๑ กรมปศุสัตว์ อนุโลมให้ฟาร์มสัตว์ปีกนั้นต้องผ่านการตรวจรับรองด้านการป้องกันโรคระบาด สัตว์จากสัตวแพทย์สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด โดยอนุโลม  จนถึง ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๗  ตามหลักเกณฑ์ดังนี้

    (๑)  ต้องมีรั้วล้อมรอบบริเวณเนื้อที่ของฟาร์มสัตว์ปีก และสามารถป้องกัน พาหะนำโรคไม่ให้ผ่านเข้า-ออก โดยเฉพาะโรงเรือนต้องสามารถควบคุมป้องกันสัตว์พาหะ เช่น นก หนู เข้าในโรงเรือนได้
     (๒)  ต้องมีระบบป้องกันกำจัดเชื้อโรคที่ยานพาหนะ และบุคคลที่ผ่านเข้า-ออก เช่น มีโรงพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือมีเครื่องพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคประจำที่ประตูทางเข้า-ออกฟาร์ม ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าฟาร์มโดยเด็ดขาดนอกจากได้รับอนุญาต และบุคคลนั้นต้องเดินผ่านละอองน้ำยา     ฆ่าเชื้อโรคด้วยและไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกสัมผัสตัวสัตว์เด็ดขาด
    (๓) ต้องมีการบำบัด กำจัดของเสียที่เกิดจากสัตว์อย่างเหมาะสม เช่น มีการฝังมูลสัตว์หรือมีสถานที่เก็บมูลสัตว์โดยเฉพาะ มีสถานที่ฝังหรือเผาทำลายซากสัตว์ เป็นต้น
    (๔)  หน้าทางเข้าโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก มีอ่างน้ำยาฆ่าเชื้อโรคสำหรับจุ่มรองเท้า และอ่างล้างมือพร้อมสบู่

   (๕) มีชุดเปลี่ยนที่มิดชิดสำหรับบุคคลที่เข้าดูแลสัตว์ (เสื้อคลุมแขนยาว/ผ้าปิดจมูกและปาก/ที่คลุมผม/ถุงมือ/รองเท้าบู๊ท)

    (๖)  มีสถานที่เก็บอาหารสัตว์สามารถป้องกันสัตว์พาหะ เช่น นก หนู ได้ดี
    (๗) มีแหล่งน้ำสะอาดสำหรับใช้ในฟาร์มสัตว์ปีก โดยจะต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคแล้ว
    (๘) มีสัตวแพทย์ทำหน้าที่ควบคุมดูแลอาการสัตว์ การใช้ยา การทำวัคซีน หรือเวชภัณฑ์อื่นๆอย่างใกล้ชิด
    (๙) มีเอกสารบันทึกประวัติสัตว์ระหว่างการเลี้ยงเก็บเป็นหลักฐานสำหรับเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้

    (๑๐) มีการบันทึกบุคคลและยานพาหนะเข้า-ออกฟาร์ม โดยระบุรายละเอียด ในประเด็นมาจากที่ใด มาทำอะไร ออกจากฟาร์มแล้วจะไปที่ไหน รวมทั้งหมายเลขทะเบียนยานพาหนะ และข้อมูลอื่นที่จะเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบย้อนกลั

 

        ๕.  การฝึกอบรม

             เจ้าของฟาร์มสัตว์ปีกหรือผู้ควบคุมดูแลฟาร์มสัตว์ปีกต้องผ่านการฝึกอบรมหลัก สูตร ผู้ควบคุมดูแลฟาร์มสัตว์ปีกจากกรมปศุสัตว

 

        ๖.  การออกใบรับรองผ่านหลักเกณฑ์

     ฟาร์มสัตว์ปีกที่ผ่านหลักเกณฑ์ ตามข้อ ๑. ข้อ ๒. ข้อ ๓. ข้อ ๔. และข้อ ๕. ปศุสัตว์จังหวัดจะออกหนังสือรับรองให้ไว้เป็นหลักฐาน ตามแบบเอกสารแน

 

        ๗.  การปฏิบัติหลังจากนำสัตว์ปีกเข้าเลี้ยง

     เมื่อนำสัตว์ปีกเข้าเลี้ยงใหม่แล้วเจ้าของฟาร์มต้องดำเนินการ  ดังนี้
        ๗.๑ จัดทำบันทึกระบุจำนวนสัตว์ป่วย และสัตว์ตายเป็นประจำทุกวัน โดยบันทึกดังกล่าว ให้ติดไว้ที่ประตูหน้าฟาร์ม เพื่อเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา
         ๗.๒  หากพบสัตว์ปีกป่วยหรือตายมากผิดปกติให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทันทีภาย ใน ๒๔ ชั่วโมง และห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ป่วยและสัตว์ตาย รวมทั้งชำแหละหรือกระทำการอย่างใดแก่สัตว์ป่วยและซากสัตว์นั้น

         ๗.๓ หากไม่ปฏิบัติตามข้อ ๗.๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองเดือนหรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งหากมีการทำลายสัตว์ปีกในฟาร์มรัฐบาลจะไม่ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เจ้า ของฟาร์ม

 

        ๘.  แบบคำขอตรวจสอบหลักเกณฑ์การนำสัตว์ปีกเข้าเลี้ยงใหม่   

             ให้ใช้ตามแบบคำขอรับรองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ (ม.ฐ.ฟ.๑)  โดยอนุโลม